BLC ส่งยาสามัญใหม่ ชิงส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 6%

BLC ส่งยาสามัญใหม่ ชิงส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม

ชูจุดเด่นด้านนวัตกรรมและมาตรฐานการผลิตระดับสากล ขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่

ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 6ปั๊มมาร์จิ้นโค้งสุดท้ายดันรายได้ปี 2566 เติบโตตามเป้า  

 

บมจ. บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค หรือ BLCเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยาสามัญใหม่ รุกตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมูลค่า 58,000 ล้านบาท ขยายฐานลูกค้าใหม่เจาะกลุ่มผู้มีปัญหาผมร่วง ชูจุดเด่นด้านนวัตกรรมและมาตรฐานการผลิตระดับสากล จากศูนย์วิจัย BLC Research Center ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 6% และประเมินอัตรากำไรขั้นต้นที่ 60-70% ในช่วง 10 ปีแรก เล็งขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาคเจาะ สปป.ลาว เป็นที่แรก เดินเครื่องอัพมาร์จิ้นพร้อมรับรู้รายได้จากการผลิตและจำหน่ายภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ภก.สุวิทย์ งามภูพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน)หรือ BLหนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ประเภทยาสามัญ และยาสามัญใหม่ ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพครบวงจร ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมในประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่ารวม 58,000 ล้านบาท โดยมาจากตลาดในประเทศ 33,000 ล้านบาท และส่งออกอีก25,000 ล้านบาท ทั้งนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมส่วนใหญ่ ได้แก่ แชมพู คอนดิชันเนอร์ ครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดที่ 27,000 ล้านบาท คิดเป็น 82% ของมูลค่าตลาดในประเทศ ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์ยาสำหรับอาการผมร่วงมีมูลค่ารวมประมาณ 900 ล้านบาท คิดเป็น 2% ของตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมปี 2565 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย(CAGR) 3% ต่อปีในช่วงปี 2564-2569 จากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงผมร่วงสูงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การบริโภคอาหารไม่สมดุล การสัมผัสกับสารเคมี รวมทั้ง
เทรนด์การใส่ใจดูแลสุขภาพและความงามของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูง ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมีศักยภาพเติบโตสูงในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มยารักษาอาการผมร่วงที่มีอัตรากำไรค่อนข้างโดดเด่น

ศูนย์วิจัย BLC Research Center จึงวิจัยและพัฒนายาสามัญใหม่ที่ใช้รักษาอาการผมร่วงในผู้ชาย ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone (DHT) ที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง โดยมีการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence)เพื่อทดสอบความเท่าเทียมกันของชีวประสิทธิผล (Bioavailability) ของผลิตภัณฑ์ยาระหว่างผลิตภัณฑ์ยาสามัญ (Generic product) กับผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ พื่อเป็นหลักประกันถึงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาสามัญที่จะใช้แทนผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นแบบได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งเป็นความตั้งใจของ BLC ที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประชาชนไทย

ทั้งนี้ BLC ตั้งเป้าหมายมีส่วนแบ่งตลาดยารักษาอาการผมร่วงที่ 6% ภายใน 3  โดยประเมินอัตรากำไรขั้นต้นของยาสามัญใหม่ที่ 60-70% ในช่วง 10 ปีแรก มุ่งเน้นการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้ากลุ่มร้านขายยาเป็นหลัก และขยายสู่โรงพยาบาลรัฐโดยใช้ความเชี่ยวชาญและความแข็งแกร่งด้านทีมการตลาดของบริษัทฯ ในการให้ข้อมูลแก่กลุ่มลูกค้า รวมถึงมีแผนจะส่งออกไปยัง สปป.ลาวเป็นประเทศแรก และขยายสู่ประเทศอื่นๆ ในระดับภูมิภาค คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยาสามัญใหม่ดังกล่าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ 

BLC วางเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนายาสามัญ และสามัญใหม่อย่างน้อยปีละ รายการ มุ่งเน้นกลุ่มยาที่ดีมานด์จากเทรนด์สุขภาพเติบโต การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และมีอัตราการทำกำไรสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทฯ ในการบรรลุเป้าหมายเพิ่มรายได้เฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท ภก.สุวิทย์ กล่าว